เทคนิคการสัมภาษณ์งานให้ได้งาน Part Time กรุงเทพ



หากคุณมีนัดสัมภาษณ์งาน Part Time กรุงเทพเร็ว ๆ นี้ แน่ใจหรือว่างานนี้จะเป็นของคุณ การสัมภาษณ์งานอาศัยทักษะและการเตรียมตัวมากกว่าที่คิด นัดสัมภาษณ์งานคือ ช่วงเวลา 15-60 นาทีของการแนะนำตัวเองต่อคนแปลกหน้าซึ่งเดิมพันด้วยความสุข และความก้าวหน้าของคุณในอนาคต คุณจะได้งานหรือไม่ก็ขึ้นอยู่กับช่วงเวลานี้ ประเด็นสำคัญจึงอยู่ที่คุณจะนำเสนอตัวเองอย่างไรถึงจะโดดเด่นเหนือผู้แข่งขันรายอื่น และทำให้ผู้สัมภาษณ์มั่นในว่าคุณน่าจะเป็นผู้ร่วมงานที่ดี วิธีที่นำเสนอตัวตนที่ดีที่สุดในเวลาไม่กี่นาที เพื่อพิชิตงานนี้คือ


เทคนิคการสัมภาษณ์งานให้ได้งาน
          1. รู้เขา...
          หากคุณต้องการทำงานกับองค์กรใด คุณต้องรู้ลักษณะของงานและสภาพโดยรวมขององค์กรนั้น ซึ่งรวมถึงหน้าที่หลักของงานและปัญหาที่อาจเกิดขึ้น ขนาดและวัฒนธรรมขององค์กร ประวัติความเป็นมาชื่อเสียงและผลประกอบการ ข้อมูลที่คุณต้องค้นคว้าจะมาก หรือน้อยขึ้นอยู่กับความรับผิดชอบของตำแหน่งนั้น หรือขึ้นอยู่กันสภาพการแข่งขันในตลาดงาน ยิ่งเป็นตำแหน่งที่สูง มีภาระมากและมีคนหมายปองมากเท่าไหร่คุณยิ่งต้องรู้ข้อมูลมากขึ้นเท่านั้น ความรอบรู้ของคุณจะสะท้อนให้นายจ้าง (ในอนาคต) เห็นว่าคุณสนใจ กระตือรือล้นมุ่งมั่น และมีความสามารถเหมาะที่จะร่วมงานด้วย ดังนั้นข้อมูลคืออาวุธลับทำให้คุณโดดเด่นต่างจากผู้สมัครรายอื่น นอกจากนี้ยังช่วยคุณตัดสินใจดีขึ้นว่ายังต้องการร่วมงานกับองค์กรนั้นอีก หรือเปล่า
          2. รู้เรา...
          การสัมภาษณ์อาจเรียกว่าเป็นการแสดงละครบทหนึ่ง โดยคุณมีเวลาไม่กี่นาทีเพื่อทำให้ผู้ชมประทับใจ ช่วงเวลานี้คุณต้องทิ้ง "ตัวตน" ของคุณไปชั่วคราว สิ่งที่ต้องทำคือแสดงบทบาทที่ผู้ชมต้องการเห็นเท่านั้น ซึ่งก็คือบทของคนทำงานมืออาชีพที่ฉลาดมีความสามารถ ดังนั้นแม้ว่าคุณกำลังหงุดหงิดหรือตื่นกลัวจนตัวชา ณ เวลานี้คุณต้องดูน่าชื่นชมที่สุด ซึ่งทำได้ง่าย ๆ ตามเทคนิคต่อไปนี้
          ยิ้มแย้มแจ่มใส รอยยิ้มที่ดูจริงใจและผ่อนคลายทำให้ผู้พบเห็นรู้สึกอยากร่วมงานด้วย และแสดงให้เห็นว่าคุณก็อยากร่วมงานกับเขาเช่นกัน
          ระวังกิริยา ตลอด เวลาสัมภาษณ์ ทุกกิริยาอาการของคุณจะถูกจับตามอง ไม่ใช่แค่คำพูดเท่านั้นแต่ทุกการเคลื่อนไหว ทั้งการแสดงสีหน้าคุณควรแสดงให้เห็นพลังของคนรุ่นใหม่ไฟแรง พร้อมกับมีศักดิ์ศรีในตัวเพียงพอ
          บอกเล่าอดีตในแง่ดี เลี่ยง การบ่งถึงปัญหาในที่ทำงานเก่า หรือนินทาว่าร้ายเจ้านายเก่า เพราะ ว่าที่เจ้านายอาจเห็นอกเห็นใจเจ้านายเก่าคุณก็ได้และเลือกที่จะไม่เป็น เจ้านายคุณดีกว่า
          พูดอย่างฉลาด  ทักษะ การสื่อสารที่ดีคือคุณสมบัติสำคัญที่เจ้านายทุกคนต้องการจากลูกน้อง คุณควรตอบคำถามอย่างสมบูรณ์ชัดเจน หลีกเลี่ยงการตอบแค่ "ครับ/ค่ะ" หรือ "ไม่ครับ/ค่ะ" และระวังการพูดจาเรื่อยเปื่อยเพื่อกลบเกลื่อนอาการประหม่าของตัวเอง
          เป็นผู้ฟังที่ดี อย่ากังวลแต่จะเป็นฝ่ายพูดบรรยายสรรพคุณของตัวเองอย่างเดียว คุณควรตั้งใจฟังสิ่งที่ผู้สัมภาษณ์ชักถาม ถ้าไม่เข้าใจก็ควรถามให้ชัดเจน เพื่อจะได้ตอบคำถามตรงประเด็นและน่าพอใจ นอกจากนี้การแสดงความสนใจผู้พูดอย่างจริงจังยังเป็นการให้ความสำคัญแก่ผู้ พูดอีกด้วย
          เอาชนะใจผู้สัมภาษณ์  จริง ๆ แล้ว ผู้ที่ผ่านการสัมภาษณ์ไม่จำเป็นต้องเป็นผู้ที่มีความสามารถมากที่สุด สิ่งสำคัญคือผู้สัมภาษณ์จะถูกใจผู้สมัครคนไหนมากที่สุดต่างหาก คุณต้องอาศัยการสังเกตว่าบุคลิกของผู้สัมภาษณ์เป็นอย่างไร และพยายามแสดงว่าคุณก็มีบุคลิกคล้ายคลึงกันซึ่งอาจมีทัศนคิตเหมือนกันและ เป็นผู้ร่วมงานที่ดีในอนาคต
          3. สร้างภาพประทับใจ 
          ผู้รู้บอกมาว่า 5 นาทีแรกของการสัมภาษณ์คือช่วงเวลาสำคัญที่สุด บางคนถึงกับบอกว่าโอกาสแห่งความสำเร็จตัดสินกันใจช่วงเวลา 60 วินาทีแรกเลยเชียว และภาพประทับใจก็วัดกันได้จากสิ่งเหล่านี้
           แต่งกายกลมกลืน เลือกชุดที่ไปกันได้กับวัฒนธรรมขององค์กรหรือเหมาะกับลักษณะงาน เพื่อให้ผู้สัมภาษณ์รู้สึกเป็นกันเองกับคุณทันทีที่เจอ
           ตรงต่อเวลา ควรไปถึงสถานที่นัดหมายก่อนเวลาประมาณ 10 นาที เพื่อสำรวจความเรียบร้อยอีกครั้ง อย่าลืมทักทายพนักงานต้อนรับอย่างสุภาพ
           สร้างบรรยากาศผ่อนคลาย ก่อนจะเริ่มการสัมภาษณ์ คุณอาจเอ่ยปากชมสถานที่ทำงาน หรือรูปภาพติดฝาผนัง เพื่อให้บรรยากาศที่ตึงเครียดนั้นผ่อนคลายขึ้น
          4. ถามอย่างมีกึ๋น 
          ระหว่างการสัมภาษณ์ คำถามที่นอกเหนือจากเรื่องงานถือเป็นความผิดพลาดรุนแรงทีเดียว คุณควรถามเกี่ยวกับหน้าที่รับผิดชอบและปัญหาที่อาจเกิดขึ้นของตำแหน่งนี้ หรือถามถึงผลการทำงานที่บริษัทคาดหวัง หรือรายละเอียดของงานบางอย่างเช่น คุณมีลูกน้องกี่คนและต้องรายงานผลการทำงานกับใคร ระวังอย่าถามถึงข้อมูลบางอย่างกี่ยวกับบริษัทหรืองานที่คุณควรต้องรู้มาก่อนแล้ว ในช่วงเวลานี้การถามเกี่ยวกับเงินเดือน สวัสดิการ หรือจำนวนวันหยุดพักร้อนจะทำให้ผู้สัมภาษณ์เข้าใจว่าคุณไม่สนใจจะทำงานจริงจัง คุณควรเก็บคำถามเหล่านี้ไว้ภายหลังที่คุณได้รับเลือกให้ร่วมงานแล้ว

0 ความคิดเห็น: